ผู้ลี้ภัยในนอร์เวย์
ได้รับสิทธิในการเรียนฟรี ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ มีเงินยังชีพประจำเดือน ผู้ลี้ภัยที่นี่เยอะมาก เป็นคนผิวดำอพยพมาจากทวีปแอฟริกา มาทางเครื่องบินบ้าง ทางเรือบ้าง ทางเรือเข้าได้ง่ายๆ ที่คาบสมุทรอิตาลี คนอพยพเยอะ....
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
มีผู้อพยพเยอะมากในนอร์เวย์ ทุกหนทุกแห่ง แต่คนเหล่านี้ไม่ได้ก่อปัญหาอาชกรรมเหมือนบ้านเรา ได้ยินข่าวน้อยมากเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรง ยกเว้นเหตุการณ์กราดยิงในนอร์เวย์ ปี 2554
ส่วนใหญ่ผู้ย้ายถิ่นฐานมักจะหาโอกาสรวมญาติ ต้องการให้ครอบครัวมาอยู่ด้วย ต้องทำเรื่องผ่าน UDI ของนอร์เวย์ และมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสามารถดูแลผู้นั้นได้ เช่นเอกสารการเงิน เอกสารการเสียภาษี
ชาวต่างชาติที่อาศัยในนอร์เวย์ ได้แก่ ผู้ที่
เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้รับอนุญาตให้ทำงานเฉพาะอย่างเช่น วิศวกรรม
เป็นประชากรในแถบฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ รวมทั้งประเทศในกลุ่ม EEA เข้ามาได้โดยไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน เช่น สวีเดนเข้ามาหางานทำในนอร์เวย์ เนื่องจากค่าเงินสูงกว่า ได้เยอะกว่า โปแลนด์เข้ามาทำงานรับจ้างต่างๆ เช่นสร้างบ้าน ต่อเรือ ทาสี หรือชาวโรมาเนีย เข้ามาขอทาน (เยอะมาก) นั่งทนร้อนทนหนาวเกลื่อนออสโล ที่อื่นๆ ก็มีประปราย
มาทำงาน ร้านอาหารไทย ร้านอาหารฝรั่ง นวด ฟาร์ม องค์กร บริษัท เป็นลูกจ้างตามที่ต่างๆ ฯลฯ มีใบอนุญาตทำงาน
มาศึกษาต่อ มาเรียนภาษา (เดี๋ยวนี้วีซ่านักเรียนที่เข้ามาเรียนภาษาตามโรงเรียนหรือสถาบันต่างๆ ไม่มีแล้ว ยกเว้นเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น) มีวีซ่านักเรียน หรือได้ทุนต่างๆ
มาในโครงการแลกเปลี่ยน เช่น ออแพร์ เป็นต้น มาทำงาน เรียนรู้ พักอาศัยกับโฮส เก็บประสบการณ์ จากนั้นกลับประเทศบ้านเกิดตน
มิชชันนารี สอนศาสนา มีทั่วนอร์เวย์ ส่วนใหญ่วัยรุ่นอยู่
ย้ายถิ่นฐาน มีหลายอย่าง แต่งงาน ลี้ภัยก็เป็นการย้ายถิ่นฐานเหมือนกัน อยู่ถาวร อพยพตามครอบครัว
แต่งงาน คือชาวต่างชาติที่รักชอบ ตกลงปลงใจแต่งงาน จากนั้นย้ายถิ่นฐาน สำมะโนประชากรเข้า
ลี้ภัย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เช่น บุคคลที่ถูกข่มเหงจากประเทศของตน มีความขัดแย้ง หรือเป็นชนกลุ่มน้อย
ประเทศ ในกลุ่ม EEA
Austria, Belgium, Bulgaria, Croatia, Republic of Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Ireland, Italy, Latvia, Lithuania, Luxembourg, Malta, Netherlands, Poland, Portugal, Romania, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden and the UK.
ลิงค์แนววิชาการเกี่ยวกับนอร์เวย์ คลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น